ประเทศลาว LAO
ลักษณะภูมิศาสตร์
ในอดีตที่ผ่านมาประเทศลาวมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่ต่อมาภายหลังมาเสียดินแดนบางส่วนให้กับสยาม จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปลดปล่อยจากการปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ประเทศลาวมีเนื้อที่เหลือเพียง 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญถึง 13 สาย ด้วยกัน อาทิเช่น น้ำคาน น้ำงึม น้ำซับ น้ำแบง ฯลฯ แม่น้ำที่สำคัญที่สุดของลาวและเป็นแม่น้ำนานาชาติคือแม่น้ำโขง หรือที่คนลาวเรียกกันว่า แม่น้ำของ ซึ่งบางส่วนของแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาวในแขวงจำปาศักดิ์มีความกว้างถึงหนึ่งกิโลเมตร เกิดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ขวางกลางแม่น้ำโขงคือ น้ำตกคอนตะเพ็ง ซึ่งมีความยาวตามลำน้ำเกือบสิบกิโลเมตร และมีความสูงราว 20 เมตร จากนั้นกระแสน้ำจึงไหลเข้าสู่จังหวัดตึงเตรงในประเทศกัมพูชาต่อไป จากเขตแดนลาวมีความยาวทั้งสิ้น 4,500 กิโลเมตร ชายแดนที่ติดกับประเทศไทยมีความยาว 1,730 กิโลเมตร ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทั้งสองประเทศ มีความยาวทั้งสิ้น 1,400 กิโลเมตร มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในประเทศ ในแขวงเชียงขวาง ยอดเขาหลายแห่งมีความสูงกว่า 2,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศคือ ภูเบี้ย มีความสูงประมาณ 2,820 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ติดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและที่ราบสูงอากาศค่อนข้างหนาวถึงหนาวจัด ส่วนทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบติดกับประเทศเวียดนาม สำหรับทางตอนใต้สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับประเทศกัมพูชา ประกับกับที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศลาวมีลักษณะทางภูมิอากาศแบ่งออกได้ 3 ฤดู คือ
• ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน
• ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม
• ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม
• ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน
• ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม
• ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม
การแบ่งการปกครอง
ประเทศลาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 แขวง (จังหวัด) และอีกหนึ่งเขตการปกครองพิเศษ คือ
1. นครเวียงจันทน์ (กำแพงเวียงจันทน์) เป็นเขตการปกครองพิเศษคล้ายกรุงเทพฯ
2. แขวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์
3. แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวงคือ หลวงพระบาง
4. แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวงคือ หลวงน้ำทา
5. แขวงอุดมไชย เมืองหลวงคือ เมืองไชยหรืออุดมไชย
6. แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวงคือ ห้วยทราย
7. แขวงพงสาลี เมืองหลวงคือ พงสาลี
8. แขวงหัวฝัน เมืองหลวงคือ ซำเหนือ
9. แขวงเชียงขวาง เมืองหลวงคือ โพนสะหวัน
10. แขวงไชยบุรี เมืองหลวงคือ เมืองไชยบุรี
11. แขวงบอลิิคำไซ เมืองหลวงคือ เมืองปากซัน
12. แขวงคำม่วน เมืองหลวงคือ เมืองคำบ่วนหรือท่าแขก
13. แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวงคือ เมืองสะหวันนะเขต
14. แขวงสาละวัน เมืองหลวงคือ เมืองสาละวัน
15. แขวงเซกอง เมืองหลวงคือ เมืองเซกอง
16. แขวงจำปาศักดิ์ เมืองหลวงคือ เมืองปากเซ
17. แขวงอัตปือ เมืองหลวงคือ อัตปือ
และเขตปกครองพิเศษ คือ ไชยสมบูรณ์
1. นครเวียงจันทน์ (กำแพงเวียงจันทน์) เป็นเขตการปกครองพิเศษคล้ายกรุงเทพฯ
2. แขวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์
3. แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวงคือ หลวงพระบาง
4. แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวงคือ หลวงน้ำทา
5. แขวงอุดมไชย เมืองหลวงคือ เมืองไชยหรืออุดมไชย
6. แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวงคือ ห้วยทราย
7. แขวงพงสาลี เมืองหลวงคือ พงสาลี
8. แขวงหัวฝัน เมืองหลวงคือ ซำเหนือ
9. แขวงเชียงขวาง เมืองหลวงคือ โพนสะหวัน
10. แขวงไชยบุรี เมืองหลวงคือ เมืองไชยบุรี
11. แขวงบอลิิคำไซ เมืองหลวงคือ เมืองปากซัน
12. แขวงคำม่วน เมืองหลวงคือ เมืองคำบ่วนหรือท่าแขก
13. แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวงคือ เมืองสะหวันนะเขต
14. แขวงสาละวัน เมืองหลวงคือ เมืองสาละวัน
15. แขวงเซกอง เมืองหลวงคือ เมืองเซกอง
16. แขวงจำปาศักดิ์ เมืองหลวงคือ เมืองปากเซ
17. แขวงอัตปือ เมืองหลวงคือ อัตปือ
และเขตปกครองพิเศษ คือ ไชยสมบูรณ์
ภาษา ภาษาประจำชาติคือ ภาษาลาวมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทยในภาคอีสานของไทย นอกจากนี้คนลาวบางส่วนยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ดี สำหรับประชาชนชาวลาวทางตอนเหนือของประเทศสำเนียงการพูดและความหมายของคำบางคำคล้ายกับภาษาพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และเลย ทางตอนเหนือของประเทศไทย
ประชากร จากการสำรวจจำนวนประชากรในปีที่ผ่านมา (2544) ประเทศลาวมรจำนวนประชากรทั้งหมด 5.6 ล้านคน ประกอบด้วย 3 ชนชาติใหญ่รวม 68 เผ่า ได้แก่
ลาวลุ่ม หมายถึง ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำโขง คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด เช่น ไทลาว ไทเหนือ ไทแดง ไทขาว ผู้ไท ลาวพวน ไทลื้อ เป็นต้น
• ลาวเทิง เป็นกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร คิดเป็นประชากรร้อยละ 20 ของประเทศ เช่น สีดา บ่าแวะ ละแนด ฯลฯ
• ลาวสูง เป็นประชากรส่วนน้อยอาศัยอยู่บนเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่เป็นชาวม้งและเผ่าอื่นๆ เช่น มูเซอ ก่อ กุย เป็นต้น
ระบบเงินตรา สกุลเงินของประเทศลาวคือ กีบ สำหรับเงินกีบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศลาวส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นใบละ 1,000 2,000 5,000 10,000 20,000 กีบ (ไม่มีเงินในลักษณะเหรียญกษาปณ์)
• ดอกไม้ประจำชาติ ดอกจำปาหรือคนไทยเรียกว่าดอกลั่นทม เป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกขึ้นได้เองตามธรรมชาติ
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
หลวงพระบาง |
น้ำตกคอนพระเพ็ง |
น้ำตกคอนพะเพ็ง ได้รับฉายาว่า "ไนแองการาแห่งเอเชีย" ตั้งอยู่้ในแขวงจำปาสัก ประเทศลาว ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อและสวยงามมากแห่งหนึ่งของประเทศลาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น