วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

อาเซียนคืออะไร


                                                          อาเซียน คืออะไร



       อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

โดย อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ

1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
3.มาเลเซีย โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ)

ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ 8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538 เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

คำขวัญอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

สัญลักษณ์อาเซียน
asean-symbol


             รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ คือ

1.การเมืองความมั่นคง
2.เศรษฐกิจ (AEC)
3.สังคมและวัฒนธรรม

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีพัฒนาการไปด้วยกัน โดยเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงแต่ AEC ซึ่งก็คือด้านเศรษฐกิจหรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คงเป็นเพราะว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดูจะจับต้องได้มากกว่าเรื่องอื่นๆ อีกทั้งในการขับเคลื่อนส่วนใหญ่แล้วที่มักจะก้าวไปเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ก็คือภาคธุรกิจ ดังนั้น คนอาจจะรับรู้เรื่อง AEC มากกว่ามิติความร่วมมืออื่นๆ ของอาเซียน

อย่างไรก็ดี ความร่วมมือทั้ง 3 เสาหลักของอาเซียนก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น เพราะการสร้างประชาคมอาเซียนย่อมหมายถึงการร่วมมือและหลอมรวมกันในทุกมิติ และแต่ละมิติก็ล้วนมีความสำคัญและส่งเสริมซึ่งกันและกัน เราคงไม่อาจผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้หากปราศจากความมั่นคงทางการเมือง หรือความเข้าใจกันของคนในอาเซียน

ขณะนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เรื่องการเปิดเสรีแรงงานในอาเซียนจะทาได้อย่างอิสระ ประเภทว่าข้ามฝั่งโขงไปก็หางานทำได้เลย ข้อเท็จจริง ไม่ได้เป็นถึงขนาดนั้น เพราะการเปิดเสรีด้านแรงงานที่อาเซียนได้เจรจากันครอบคลุมเฉพาะในส่วนของแรงงานมีฝีมือ ขณะนี้อาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัติวิชาชีพเพียง 7 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก และชำงสำรวจ แต่การที่แรงงานมีฝีมือใน 7 สาขาดังว่าจะเข้ามาทำงานในประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ จะต้องทาตามขั้นตอนและกฎระเบียบภายในประเทศต่างๆ อยู่ดี เช่น ถ้าจะมาทำงานในไทยก็ต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพหรือผ่านขั้นตอนการประเมินตามเงื่อนไขภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแรงงานไร้ฝีมือไม่อยู่ในขอบเขตของการเปิดเสรีด้านบริการอาเซียน ดังนั้นการเปิดเสรีเป็นคนละส่วนกับปัญหาแรงงานต่างด้าวทั่วไป รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งในส่วนนั้น ประเทศไทยได้ร่วมมือกับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาและจัดระเบียบ

เมื่อไม่นานมานี้มีการสอบถามความตระหนักรู้ของประชาชนใน 10 ประเทศสมาชิกเกี่ยวกับอาเซียน ปรากฏว่า ไทยอยู่ในอันดับท้ายๆ ขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (CLMV) อย่าง ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม กลับรู้จักและเห็นความสำคัญของอาเซียนมากกว่า เพราะเขาติดตามข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทย ซื้อสินค้าไทย ดูละครไทย และเรียนรู้ภาษาไทยกันมากขึ้น คนไทยเป็นคนเก่ง มีจุดแข็งและมีความโดดเด่นหลายด้าน และไม่ได้ด้อยเรื่องความรู้ความสามารถ แต่ยังมีจุดอ่อนอันดับแรกในเรื่องของภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการของอาเซียน ซึ่งต้องพัฒนาอีกมาก

นอกจากนี้ เราต้องหันมาให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกันเองมากขึ้น ว่าตอนนี้เขาทำอะไรกัน มีพัฒนาการในเรื่องใด มีความแข็งแกร่งและมีจุดอ่อนในเรื่องไหน เพราะเมื่อรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 ประเทศในอาเซียนจะมีการติดต่อกันมากขึ้น

ขณะที่องค์กรต่างๆในไทย ก็ต้องพัฒนาความรู้และติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนในสาขาที่เกี่ยวกับตนเอง เพื่อให้สามารถรับมือกับคู่แข่งจากอีก 9 ประเทศให้ได้ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนไทยและประเทศไทยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงอยากให้มองว่าปี 2558 ที่อาเซียนจะก้าวสู่การเป็นประชาคม ไม่ได้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของอาเซียน แต่เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของอาเซียน และเราจำเป็นต้องเสริมสร้างการรวมตัวในเสาหลักทั้ง 3 เสาอย่างต่อเนื่องต่อไป
แหล่งที่มา

สาระน่ารู้ ราชอาณาจักรกัมพูชา



                                                              ราชอาณาจักรกัมพูชา 



กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม กัมพูชาเป็นอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงแค่ประเทศเดียวเท่านั้นที่มีการปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ



 
 




ภูมิประเทศ

        ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ 

ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

ภูเขา

ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น   

                                       


ภูมิอากาศ 

   

 

        -  มีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม

       -  ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนเมษามีอุณหภูมิสูงที่สุด เดือนมกรามีอุณหภูมิต่ำที่สุด   เดือนตุลาคมมีฝนตกมากที่สุข

การแบ่งเขตปกครอง 

        ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 จังหวัด (เขต: provinces; khet) และ4เทศบาล*(กรุง:municipalities; krung)


ประชากร 14,071,000 (ก.ค. 2548) 

เชื้อชาติ   ชาวเขมร 85% ชาวญวน 5% ชาวจีน 5 % อื่นๆ เช่นชาวไทย ชาวลาว ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ 3% เป็นต้น 

ภาษา   ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน 
ศาสนา   รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3% 

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2552 จากการคาดการณ์ของหลายสถาบันมีความแตกต่างกัน เช่น IMF คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตจะติดลบ ร้อยละ 0.5  (-0.5%) เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ผลคือการส่งออกในช่วง 6  เดือนแรกของปี 2009  ลดลงร้อยละ 26  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2008 โดยยอดส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งมีมูลค่าปีละ 1,967 ล้านดอลลาร์ฯ(ร้อยละ 66.5 ของยอดส่งออกรวม) ลดลงร้อยละ 30 ทำให้รัฐบาลต้องยอมออกมาประกาศปรับตัวเลขประมาณการอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ จากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 2
 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัว เช่นเดียวกับภาคเกษตรกรรม และภาคบริการจากการท่องเที่ยวที่ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเสียมเรียบในระยะ 6 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวน 503,000 คน ลดลงจาก 578,700 คน ของระยะเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 13 โดยนักท่องเที่ยวที่ลดลงมากคือเกาหลี แต่นักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากถึงร้อยละ 30 คือนักท่องเที่ยวเวียดนามที่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้สะดวกและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง กล่าวคือสามารถเดินทางโดยตรงทางรถยนต์และสายการบินแห่งชาติกัมพูชาในนาม Cambodia Angkor Air (การร่วมทุนระหว่างนักลงทุนเวียดนามและรัฐบาลกัมพูชา) รวมถึงการยกเว้นทำวีซ่าระหว่างเวียดนามและกัมพูชา นอกจากนี้ได้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาทางเรือสำราญ จากสถิติในปี 2008 ซึ่งมี่จำนวน 25 ลำ นักท่องเที่ยว  14,159 คน เป็นจำนวน 15 ลำในระยะ 6 เดือนแรก หรือเพิ่มร้อยละ 46 ทำให้รัฐบาลเล็งที่จะขยายท่าเรือที่จังหวัดเกบ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวดังกล่าว อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงนั้นเป็นปัญหาที่กระทบจากปัจจัยวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัจจัยด้านการเมืองของประเทศไทยซึ่งเป็นประตูด้านการบินจากยุโรป มายังกัมพูชา ปัญหาข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชา รวมถึงผลกระทบจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ CAMKO CITY  มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งแจ้งว่าได้ขายโครงการส่วนแรกจำนวน 700 หน่วยไปแล้วร้อยละ 80 ในราคาหน่วยละ 140,000-300,000 ดอลลาร์ฯ ได้ประกาศหยุดการก่อสร้างไว้ระยะหนึ่งจนกว่าสถานการณ์ด้านการเงินของบริษัทจะเป็นปกติ ขณะที่โครงการที่ยังไม่ได้เริ่มต้นก่อสร้าง ก็ไม่มีวี่แววของการก่อสร้าง แม้ว่ารัฐบาลจะออกประกาศผ่าน พรบ.ให้ต่างชาติมีกรรมสิทธิ์บนพื้นที่เหนือจากพื้นดิน 1 ชั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ตา  

การก่อสร้างโรงแรมในจังหวัดเสียมเรียบ จำนวน 7 โรงแรม คงดำเนินการต่อไปซึ่งส่วนใหญ่เป็นของนักลงทุนกัมพูชา ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จจะทำให้จำนวนห้องพักในเสียมเรียบเพิ่มอีก 2,700 ห้องจากจำนวนโรงแรมที่มีอยู่ 116 โรงแรม จำนวนห้องพัก 8,000 กว่าห้อง

   

 

การลงทุนของต่างชาติชะลอตัว ส่งผลถึงการเลิกจ้างงาน    สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา ราคาต่ำกว่าปีก่อนๆ ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงและประสบปัญหาภัยธรรมชาติทั้งความแห้งแล้ง และน้ำท่วม 

     


แหล่งที่มา

สาระน่ารู้ ประเทศอินโดนีเซีย



                                                               อินโดนีเซีย (Indonesia)





 ภูมิประเทศ 

   ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเกือบ 18,000 เกาะ มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขาชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเลทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนอง บึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้

ภูมิอากาศ 
  ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตรมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก (ประมาณ 24-30 องสาเซลเซียส) เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

ประชากร    จำนวนประชากร : 231,328,092 คน

เชื้อชาติ : เป็นชาวเกาะชวา 45% ชาวซุนดาน 14%, ชาวมาดูรีซ 7.5%, ชาวมลายู 7.5% และอื่นๆ อีก 26%

ภาษา : บาฮาซา อินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ(แปลงมาจากมาษามลายู), ภาษาอังกฤษ, ดัทช์, ภาษาท้องถิ่น ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือภาษาชวา




  ทรัพยากรและเศรษฐกิจ

    ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับ ประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็น สินค้าออก เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

การเมืองการปกครอง


   ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ




  ศาสนา

อิสลาม
: คือศาสนาที่คนส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียนับถือ ประชากรประมาณ 143 ล้านคน หรือ 86.9% ของชาวอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

คริสต์ : ถึงแม้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกและโปรเตสแตนท์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในปี 1980 แต่ก็ยังมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในมะลุกุส ทางตอนใต้ของสุลาเวสี และติมอร์ในศตวรรษที่ 16 โดยนักบวชชาวโปรตุเกส

ฮินดู : ชาวอินโดนีเซียบนเกาะบาหลีส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู

พุทธ : มีผู้นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนน้อยในอินโดนีเซีย และส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สำคัญในอินโดนีเซียก่อนการมาถึงของอิสลาม วัดบาราบุดูร์ในชวากลาง ที่เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ก็เป็นวัดของชาวพุทธ




แหล่งที่มา

http://www.ahlulbait.org
















สาระน่ารู้ ประเทศมาเลเซีย



                                             มาเลเซีย  (Malaysia)
  

                                                                       

  

ชื่อประเทศ - มาเลเซีย
  ที่ตั้ง - ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บน           คาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย11รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน




พื้นที่ - 128,430 ตารางไมล์ (329,758 ตารางกิโลเมตร)
เมืองหลวง - กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ - เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
ภูมิอากาศ - ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ประชากร 26.24 ล้านคน (ปี 2549)
ภาษา มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
หน่วยเงินตรา ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 3.20 ริงกิต /1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 10.42 บาท/1 ริงกิต)
ระบอบการเมือง ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)

ระบบการปกครอง
(1) สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang-diPertuan Agong) เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากเจ้าผู้ปกครองรัฐ9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ และปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี
(2) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือChief Minister ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
ประมุขสมเด็จพระราชาธิบดี Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah จากรัฐตรังกานู ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย
(ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)




การเมืองการปกครอง
การเมือง
พรรค UMNO มีแนวนโยบายบริหารประเทศเน้นชาตินิยมแต่ไม่รุนแรง สนับสนุนชาวมาเลย์ให้มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แนวนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศหลัก ๆ สรุปได้ดังนี้
1. ดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยเฉพาะประเทศตะวันตก
2. พยายามเข้าไปมีบทบาทนำในอาเซียน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิม เพื่อเป็นพลังต่อรองกับประเทศตะวันตกในเวทีระหว่างประเทศ
3. พัฒนาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบของประเทศตะวันตกมีแนวดำเนินการของตนเองและให้ความสำคัญต่อเรื่องความมั่นคงภายในประเทศเป็นสำคัญ


เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ มาเลเซียมีนโยบายทางเศรษฐกิจดังต่อไปนี้
1) เปิดรับการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563 (Vision 2020) ตามที่อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัดตั้งเป้าหมายไว้
2) ใช้นโยบายการเมืองนำเศรษฐกิจเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์และโอกาสทางการค้าแก่ประเทศ
3) ขยายการติดต่อด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป อาทิ มาเลเซียในฐานะประธานองค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of Islamic Conference – OIC) ให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก OIC (รวม 57 ประเทศ) โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ธนาคารอิสลาม การศึกษา และการท่องเที่ยว


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย

1. ด้านการทูต
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2500 เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์คนปัจจุบันคือ นายปิยวัชร นิยมฤกษ์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2550 นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย 2แห่ง (สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู) และมีสถานกงสุลประจำเกาะลังกาวี (ซึ่งมีดาโต๊ะ ชาซรีล เอสเคย์ บิน อับดุลลาห์ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นหัวหน้าสำนักงาน) สำหรับหน่วยงานของส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงานของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงานของมาเลเซียในไทยได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย (เอกอัครราชทูตมาเลเซียคนปัจจุบันคือ ดาโต๊ะ ชารานี บิน อิบราฮิม) และสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา


2. ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียได้พัฒนาแน่นแฟ้นจนมีความใกล้ชิดกันมาก เนื่องจากทั้งสองประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายประการ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่แม้ว่าสองฝ่ายจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน ก็ยังคงมีประเด็นปัญหาในความสัมพันธ์ ซึ่งต้องร่วมมือกันแก้ไข อาทิ การปักปันเขตแดนทางบก บุคคลสองสัญชาติ การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

นโยบายของไทยต่อมาเลเซียเน้นมุ่งส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งให้ความสัมพันธ์ทุกระดับงอกงามอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล เคารพซึ่งกันและกันในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี เพราะเหตุการณ์ในประเทศหนึ่งย่อมจะส่งผลเกื้อหนุนหรือกระทบต่ออีกประเทศหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


3. ด้านเศรษฐกิจ

• ด้านการค้า ในปี 2550 การค้าไทย-มาเลเซียมีมูลค่า 16,408 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยขาดดุลการค้า 826.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา สินค้านำเข้าจากมาเลเซียที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบและแร่เชื้อเพลิง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์

• ด้านการลงทุน ในปี 2550 นักลงทุนมาเลเซียได้รับอนุมัติจาก BOI จำนวน 33 โครงการ (จาก 38 โครงการที่ยื่นขอ) คิดเป็นมูลค่า 11,566 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 53.6 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
• ด้านการท่องเที่ยว ในปี 2550 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทย 1.2 ล้านคน และมีนักท่องเที่ยวไทยไปมาเลเซียประมาณ 600,000คน (สถิติในช่วงเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2550)


4. สังคมและวัฒนธรรม
• ด้านสังคม ไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการไปมาหาสู่ กันในฐานะเครือญาติและเพื่อนฝูง ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือกันทั้งในด้านการค้าและด้านอื่น ๆ ทั้งสองประเทศมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสัญจรข้ามแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่และส่งเสริมการติดต่อด้านการค้าและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังอนุญาตให้คนถือสัญชาติของอีกฝ่ายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนใช้บัตรผ่านแดนซึ่งออกให้โดยหน่วยงานปกครองท้องถิ่นของแต่ละฝ่ายแทนการใช้หนังสือเดินทางเพื่อผ่านด่านพรมแดนระหว่างกันได้
• ด้านศาสนาและวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำศาสนาอิสลาม ทั้งในระดับจุฬาราชมนตรีและผู้นำศาสนา ทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการบริหาร จัดการโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและวิทยาลัยอิหม่าม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านกิจการศาสนาอิสลาม
• ด้านวิชาการ ทั้งสองประเทศมีการประชุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันเพื่อทบทวนและติดตามผลการดำเนินงานของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมีสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และ Economic Planning Unit (EPU) ของมาเลเซียเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน ความร่วมมือในกรอบทวิภาคีที่ฝ่ายไทยให้แก่ฝ่ายมาเลเซีย ได้แก่ การจัดหลักสูตรประจำปี (Annual International Training Course: AITC) หลักสูตรศึกษานานาชาติ (Thai International Postgraduate Programme: TIPP) ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation Among Development Country: TCDC) และยังร่วมกันจัดการฝึกอบรมให้กับประเทศที่สาม (Third Country Training Programme: TCTP) ส่วนมาเลเซียได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการให้ทุนฝึกอบรมประจำปีภายใต้โครงการ Malaysia Technical Cooperation Programme (MTCP) ในสาขาต่าง ๆ ให้แก่ประเทศไทย เพื่อให้คัดเลือกผู้ไปรับการฝึกอบรมที่มาเลเซีย โดยในช่วง พ.ศ. 2540-2548 มีชาวไทยได้รับทุนดังกล่าวรวม 165 คน

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ



                                                   ตึกเปโตรนาส (Petronas Twin Tower) 

     เป็นตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงถึง 452 เมตร มีชั้นทั้งหมด 88 ชั้น โดยทางการใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งหมด 20,000 ล้านบาท ซึ่งเจ้าของตึกนี้เป็นเจ้าของผู้ผลิตน้ำมันยี่ห้อเปโตรนาส ชื่อเดียวกับตึกนั่นเอง การออกแบบตึกได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของเสาหินทั้ง 5 ของอิสลาม นอกจากความสวยงามและความสูงของตึก ที่ทำให้คนทั่วโลกต้องตะลึงแล้ว ภายในตึกยังเป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี บันเทิงและแหล่งช็อปปิ้งขนาดใหญ่อีกด้วย




                                             กัวลาลัมเปอร์ ทาวเวอร์ (Menara Kuala Lumpur) 

        ตั้งอยู่บนยอดเขาบูกิตนานาส เป็นหอคอยที่มีความสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากที่แคนาดา รัสเซีย และจีน มีความสูงถึง 421 เมตร โดยใช้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ และใช้ระบบสื่อสารไฮเทคต่างๆ ด้านหน้าทางเข้าจะเป็นสวนหย่อมขนาดใหญ่มีต้นไม้ใหญ่อายุ 100 ปี มีชื่อว่า ต้นเจลลิตง