วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือ เดือน 8เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ พระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้น ในพระพุทธศาสนา จนถือได้ว่าเป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย
ความสำคัญ
1. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก ด้วยการแสดงปฐมเทศนา ที่มีชื่อว่า “ธรรมจักกัปปวัตนสูตร” ซึ่งหมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นในวันนี้
2.เมื่อพระโกณฑัญญะ หนึ่งในปัจวัคคีย์ได้ฟังธรรม ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม คือ เห็นจริงตามที่พระพุทธองค์ทรงเทศนา จึงได้ทูลขอบวช ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงบวชให้ด้วยวิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” (การบวชที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยการเปล่งวาจาให้เข้ามาเป็นพระภิกษุได้) ดังนั้น พระโกณฑัญญะจึงเป็นเป็นสาวกองค์แรกในพุทธศาสนา
3.ทำให้วันนี้เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย เป็นครั้งแรกในโลก
ความเป็นมา
1. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญ เดือน 6หรือวันวิสาขบูชาแล้ว ได้ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข(ความสุขที่เกิดจากความสงบ)อยู่ ณ บริเวณที่ตรัสรู้ตลอด 7 สัปดาห์ หลังจากนั้นได้ทรงพิจารณาว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้มีความลึกซึ้งละเอียดอ่อน ยากที่คนธรรมดาสามัญจะเข้าใจ ทำให้ทรงท้อพระทัยในชั้นแรก แต่ด้วยพระมหากรุณาที่ทรงมีต่อมนุษยชาติ และเล็งเห็นว่าคนในโลกนี้ที่ยังเรียนรู้ได้สามารถแบ่งออกเป็น 4เหล่า เปรียบเหมือนดอกบัว 4 ประเภทคือ
1. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญ เดือน 6หรือวันวิสาขบูชาแล้ว ได้ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข(ความสุขที่เกิดจากความสงบ)อยู่ ณ บริเวณที่ตรัสรู้ตลอด 7 สัปดาห์ หลังจากนั้นได้ทรงพิจารณาว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้มีความลึกซึ้งละเอียดอ่อน ยากที่คนธรรมดาสามัญจะเข้าใจ ทำให้ทรงท้อพระทัยในชั้นแรก แต่ด้วยพระมหากรุณาที่ทรงมีต่อมนุษยชาติ และเล็งเห็นว่าคนในโลกนี้ที่ยังเรียนรู้ได้สามารถแบ่งออกเป็น 4เหล่า เปรียบเหมือนดอกบัว 4 ประเภทคือ
1.อุคฆติตัญญู คือ พวกที่มีปัญญาไว บอกอะไรก็เข้าใจได้ทันที เหมือนบัวที่โผลพ้นน้ำแล้ว พร้อมจะบานเมื่อได้รับแสงอาทิตย์
2.วิปัจจิตัญญู คือ พวกที่จะรู้ธรรมได้ต้องอธิบายขยายความกันยาวๆ จึงจะเข้าใจความหมาย เหมือนบัวที่อยู่เสมอน้ำ
จักบานในวันต่อไป
จักบานในวันต่อไป
3.เนยยะ คือ พวกที่ต้องใช้ความพากเพียร ฟัง คิด ถามท่องอยู่เสมอจึงจะเรียนรู้ได้ เปรียบเหมือนบัวที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ แต่เมื่อได้รับการหล่อเลี้ยง ก็สามารถจะโผล่ไปบานในวันต่อๆไป
4.ปทปรมะ ได้แก่ พวกปัญญาอ่อน หรือพวกที่ฟัง คิด ถาม ท่องแล้วก็ยังไม่สามารถรู้ธรรมได้ เปรียบเหมือนบัวที่ติดกับเปือกตม รังแต่จะกลายเป็นอาหารของปลา เต่าต่อไป
อริยสัจ 4 ประการ คือ
1. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเกิด ความแก่ และความตาย เป็นต้น
2. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ความอยากต่างๆ
3. นิโรธ ความดับทุกข์
4. มรรค เหตุให้ถึงความดับทุกข์
การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย
พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช 2501 โดยพระธรรม โกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี ) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา ด้วยเป็นวันคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรี ลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมาโดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่องกำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2501 และในวันเดียวกันนั้นได้มี ประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชา ขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา 1 สัปดาห์ ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนศิษย์วัด คนวัด ช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรม ตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกัน ที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชา จบแล้วทำประทักษิณ ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรค่ำแล้วสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกา ทำวัตรค่ำ ต่อจากนั้น ให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตร แล้วให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ทำนองสรภัญญะ เพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชน จบแล้ว ให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์ สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัย ให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกิน เวลา 24.00 น . และได้มีการทำ พิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย
พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช 2501 โดยพระธรรม โกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี ) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา ด้วยเป็นวันคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรี ลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมาโดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่องกำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2501 และในวันเดียวกันนั้นได้มี ประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชา ขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา 1 สัปดาห์ ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนศิษย์วัด คนวัด ช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรม ตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกัน ที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชา จบแล้วทำประทักษิณ ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรค่ำแล้วสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกา ทำวัตรค่ำ ต่อจากนั้น ให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตร แล้วให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ทำนองสรภัญญะ เพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชน จบแล้ว ให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์ สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัย ให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกิน เวลา 24.00 น . และได้มีการทำ พิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย
การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันอาสาฬหบูชา
กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัว1.ทำความสะอาดบ้าน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร และจัดแต่งที่บุชาประจำบ้าน
2. ศึกษาเอกสาร หรือสนทนา เกี่ยวกับความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ ทางสายกลาง และแนวทางปฏิบัติในครอบครัว
3. ตั้งใจและอธิษฐานจิตที่จะน้อมนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักธรรมทางสายกลาง และส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิก อบายมุข
4. นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณรในช่วงเช้าหรือเพล บริจาคทาน ให้ทาน หรือบริจาคทรัพย์ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ยากไร้ /ผู้ด้อยโอกาส หรือจะบริจาคโลหิตก็ได้
5. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนา บำเพ็ญภาวนาด้วยการไหว้พระ สวดมนต์ หรือปฏิบัติสมาธิ/วิปัสสนา รักษาศีล สำรวมระวังกาย วาจา และใจ โดยอาจจะรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นกรณีพิเศษ
6. พาครอบครัวไปทำบุญ บำเพ็ญกุศล เวียนเทียน หรือไปร่วมปฏิบัติธรรมที่วัด
7. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษา .
1.ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร และจัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา
2. ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาถึงความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ ทางสายกลางและแนวทางปฏิบัติในสถานศึกษา
3. ครูให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรียงความ ทำสมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม อภิปรายธรรม
4. ประกาศเกียรติคุณของนักเรียนที่ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
5. ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนา
6. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน
1. ทำความสะอาด บริเวณที่ทำงาน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร และจัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา
2. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ ทางสายกลาง และแนวทางปฏิบัติในสถานที่ทำงาน
3. จัดป้ายนิเทศเกี่ยวกับหลักธรรมทางสายกลางเพื่อสร้างอุดมการณ์ในการทำงาน
4. จัดให้มีการบรรยายธรรม และสนทนาธรรม
5. ร่วมกับบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต
6. หัวหน้าหน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม
๗. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
กิจกรรมเกี่ยวกับสังคม
1. วัด สมาคม มูลนิธิ หน่วยงาน องค์กร สื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์เรื่องวันอาสาฬหบูชา โดยใช้สื่อทุกรูปแบบ
2. จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ ทางสายกลาง และแนวทางปฏิบัติ เพื่อเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และตามสถานที่ชุมชน เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงธรรม ศูนย์การค้า รวมทั้งบนยานพาหนะต่าง ๆ
3.เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติธรรม และพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์
4. รณรงค์ทางสื่อมวลชนต่าง ๆ ให้ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งดจำหน่ายสิ่งเสพติดทุกชนิด
5. ประกาศเกียรติคุณสถาบัน หรือบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม
6. รณรงค์ให้มีการรักษา สภาพแวดล้อม ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาด ที่สาธารณะ
7. จัดประกวด สวดสรภัญญะ บรรยายธรรม คำขวัญ บทร้องกรอง บทความเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชา
8. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ ทางสายกลาง และแนวทางปฏิบัติ . พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันอาสาฬหบูชา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางสายกลาง
2. พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้ง และตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนา
3. พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีรู้จักปฏิบัติตนตาม
แหล่งที่มา
http://www.culture.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น